หากจะบอกว่า “ต้นคูน” แล้ว บางคนอาจนึกถึงต้นชัยพฤกษ์ (หรือราชพฤกษ์?) หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ลมแล้ง” แต่คูนที่จะกล่าวถึงในวันนี้มิใช่ไม้ต้น แต่เป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่ทางภาคเหนือเรียก “ตูน” ทางอีสานเรียก “ทูน” สามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง รับประทานเป็นผักสดก็ได้ นำมารับประทานกับส้มตำก็แซบหลายน้ำลายไหล ดูไปดูมาคูนที่ว่านี้มีลักษณะเหมือน ๆ กับบอน หากไม่เชี่ยวชาญพอก็มิอาจแยกแยะได้
วิธี การเลือกเก็บคูนเพื่อนำมารับประทานโดยไม่สับสนด้วยการเก็บก้านบอนมาแทน ต้องสังเกตดูจากก้านใบ คูนจะมีก้านใบอวบอ้วนใหญ่สีเขียวอ่อนออกขาว บอนมีก้านใบเล็กและมีสีเขียวกว่า
ข้อมูล จากปี 2545 ระบุว่า คูนมีการปลูกในพื้นที่ปลูกเพื่อการค้าที่ อ. บ้านนา จ. นครนายก 12 ไร่ อ. ท่าใหม่ จ. จันทบุรี มี 1 ไร่ อ. บ้านแพรก จ. พระนครศรีอยุธยา 1 ไร่ นอกจากนั้นก็มีปลูกทั่ว ๆ ไปแถวริมไร่ปลายสวน
อาจารย์ มานะ เชื้อทองดี ประจำภาควิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์บางพระ เขียนไว้ในวารสารศูนย์บางพระ เมื่อครั้งยังไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยเช่นทุกวันนี้ คือ ตั้งแต่ 10 กว่าปีมาแล้ว (ฉบับที่ 2 กันยายน-พฤศจิกายน 2537) แต่ข้อมูลยังอัพเพทอยู่นะ หากได้หน่อคูนมา อาจารย์บอกถึงวิธีการปลูกว่า การขุดหลุมปลูกไม่จำเป็นต้องลึกมากนัก กะให้ดินพยุงโคนก้านใบไว้ได้ก็พอ แต่ควรขุดและพรวนดินออกทางด้านข้างให้มากหน่อย ถ้ามีการผสมดินด้วยปุ๋ยหมักหรือใบไม้ผุด้วยก็ยิ่งดี ต้นคูนชอบดินที่มีความชื้นสูง แต่ไม่ถึงกับน้ำท่วมโคนต้นและไม่ชอบแดดจัดมาก การคลุมโคนด้วยใบไม้เป็นชั้นหนาพอสมควรช่วยให้ต้นคูนเจริญเติบโตได้เร็วและ แตกหน่อเป็นปริมาณมาก หน่อด้านข้างนั้นถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตมากขึ้น มักมีรูปทรงของกอที่ผอมสูง จึงควรแยกออกมาปลูกเป็นกอใหม่จะดีกว่า โดยใช้ระยะห่างประมาณ 1.5-2.0 เมตร หน่อคูนที่ปลูกใหม่นั้นมีรากน้อยและรากยังไม่ทันจับดิน ก้านและใบจะเหี่ยวและโค้งงอลงดินหรือหักพับได้ง่าย จึงควรรดน้ำเบา ๆ แต่ด้วยปริมาณที่ชุ่มโชกพอหรือใช้แขนงไม้ปักดามก้านใบไว้ก็ยิ่งเป็นการดี ในระยะ 3 วันแรกภายหลังการปลูกหน่อใหม่นั้นควรรดน้ำประมาณวันละ 3 ครั้งหรือมากกว่านั้น เมื่อหน่อปลูกใหม่ตั้งก้านใบดีแล้วจึงรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง
ใน ด้านของศัตรูพืช มีหนอนผีเสื้อตัวสีเขียว-น้ำตาล บางตัวมีลาย มากัดกินใบ ฉะนั้นหากเห็นใบเว้าแหว่งหายไป ให้คอยสังเกตในช่วงเช้า ตัวหนอนจะไต่ก้านขึ้นมา ให้ฆาตกรรมมันเสีย นอกเหนือจากหนอนผีเสื้อนี่แล้วยังไม่พบโรคและแมลงอื่นใดมาทำลายคูนเลย
ใน การเก็บเกี่ยวนั้น เมื่อต้นคูนแตกกอได้ประมาณ 8-12 ใบ ก็เริ่มตัดก้านมารับประทานได้หรือคอยให้ต้นคูนโตเต็มที่ก่อนก็ได้ และเนื่องจากคูนเป็นพืชที่เพาะปลูกเลี้ยงง่าย มีการแตกหน่อและเติบโตเร็ว ชอบดินที่มีความชื้นสูงแต่ไม่มีน้ำท่วมขัง ใช้เวลาเพาะปลูกประมาณ 2-3 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้โดยตัดก้านแก่ออกมาใช้รับประทานได้ทั้งในรูปของผักสด หรือนำมาต้มแกงก็อร่อยดีมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จากนั้นจึงทยอยเก็บเกี่ยวต่อไปเป็นระยะ
คูนจึงเป็นพืชผักที่น่าสนใจและควรเพาะปลูกไว้เพื่อพยุงเศรษฐกิจพอเพียง หรือจะทำเป็นการค้าก็น่าสนใจมิใช่น้อย... อาจารย์มานะบอก
ที่มา : “สุโขสโมสร”. คอลัมน์ “ทิศทางเกษตร” เดลินิวส์. ฉบับที่ 20,921 วันอังคารที่ 23 มกราคม 2550 หน้า 10.
plant2pet : ร้านค้า จำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช online www.plant2pet.com
จำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช แบบซอง
จำหน่าย ยาถ่ายพยาธิ สำหรับสุนัขและแมวคุณภาพสูง
@@@ ร้านเรามี เมล็ดพันธุ์พืช คุณภาพสูง ราคาไม่แพง จำหน่าย@@@
เมล็ดพันธุ์ผักแบบซอง ราคาซองละ 15 บาท มีหลายชนิด เช่น ผักชี พริกขี้หนู ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว และ อีกมากมาย
เมล็ดดอกไม้ แบบซอง ราคาซองละ 20 บาท เช่น ดาวเรือง ดาวกระจาย ดอกทานตะวัน ดอกเบญจมาศ
สนใจสินค้าของทางร้านเชิญเข้าชมสินค้าได้เลยครับ www.plant2pet.com
e-mail : plant2pet@gmail.com
Tel : 089-992-1777 , 02-395-0070
BB pin : 22299B2B
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น